..โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย..
มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาต่างๆ หลายแห่งในประเทศไทย
ได้เริ่มให้มีการใช้บทเรียน online
เป็นส่วนเสริมในการเรียนการสอน แต่ยังไม่มีหลักสูตร online
ที่ผู้เรียนสามารถเรียน online จนจบได้รับปริญญาบัตร ในการพัฒนาบทเรียน online นั้น
มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง จะใช้ทรัพยากรของตนเอง
แต่เนื่องจากการเรียนบทเรียน online นั้น จะเรียนที่ใดก็ได้
และหลักสูตรของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ที่เหมือนกัน ก็มีมาตรฐานเดียวกัน
หากมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ได้มีการพัฒนาบทเรียน online ร่วมกัน และแต่ละแห่งสามารถนำบทเรียน online ไปใช้ได้
(Shared e-Courseware) ก็จะเป็นการประหยัดทรัพยากร
ประหยัดค่าใช้จ่ายของแต่ละแห่ง นอกจากนี้ ยังช่วยให้มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา
ที่ขาดแคลนอาจารย์ในบางสาขาวิชา สามารถมีบทเรียน online ที่ได้มาตรฐานในสาขาวิชานั้นได้
โดยที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
มีหน้าที่ต้องดูแลสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และมีนโยบายจะส่งเสริม
การอุดมศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
จึงได้จัดตั้งโครงการ Thailand Cyber University (TCU) ขึ้น
เพื่อให้บริการ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e–Learning) แก่ประชาชน ทุกระดับ ทุกอาชีพ
ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter-University
Network : UniNet) เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ประชาชน
เข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น
และเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
การเตรียมความพร้อม
เพื่อจัดตั้ง TCU สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ได้เริ่มดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาต่างๆ
ในภาครัฐ ร่วมกันผลิตชุดวิชา บทเรียน online เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตั้งแต่ปี 2540-2545 โดยมีชุดวิชาที่แล้วเสร็จ จำนวน 128 รายวิชา
และภายในปีงบประมาณ 2548 จะมีชุดวิชาที่แล้วเสร็จอีก จำนวน
331 รายวิชา
นอกจากนี้ยังมีการจัดทำสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์คุณภาพสูง (High Quality
e-Courseware) ในวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม
ซึ่งจัดทำโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อนำไปสนับสนุนการสอนในห้องเรียนปกติ
ให้ผู้เรียนมีความสนใจและเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
ในส่วนของระบบบริหารจัดการการเรียนการสอน (Learning Management
System : LMS) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ได้จ้างศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นผู้พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ โดยจะมีส่วนของงานบริหารจัดการ บทเรียน
online (Content Management System : CMS) และส่วนของงานบริหารจัดการการลงทะเบียนเรียนของผู้เรียน (Student
Management System : SMS) ด้วย
ประโยชน์ของ TCU
ต่อการศึกษาไทย
TCU จะเป็นสรรพวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์รวมของสรรพวิทยาการ)
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมการศึกษาในทุกระบบ
ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal
Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non Formal Education)
และการศึกษาตามอัธยาศัย (In-Formal Education) ที่ประชาชนทุกคน สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้
มีระบบการเทียบโอนความรู้จากการศึกษาในแต่ละระบบ
เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการศึกษาจากระบบหนึ่ง สามารถจะเทียบโอนความรู้
เข้าสู่การศึกษาในอีกระบบหนึ่งได้ ตามเงื่อนไขและข้อกำหนด ซึ่งจะเป็นการบูรณาการ
การศึกษาทุกระบบเข้าด้วยกัน เกิดเป็น
วิชาที่ลงเรียนเกี่ยวกับ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่เด็กสารสนเทศอย่างเราคือ
1.
วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
2.
วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
3.
วิชาโครงสร้างข้อมูลสำหรับการโปรแกรม
4.
วิชาระบบงานฐานข้อมูล
5.
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
6.
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
เรื่องอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
7.
Guide
to Effective and Productive Utilization of ICT
8.
Project
Resource and Cost Management
9.
Project
Monitoring and Control
10.
เทคโนโลยีสารสนเทศ
11.
โครงสร้างดิสครีต
12.
ระเบียบวิธีการทำโปรเเกรม
13.
เครื่องมือการทำโปรเเกรม การทำโปรแกรมข่ายงาน
14.
จริยธรรมวิชาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
15.
การออกแบบระบบการจัดการฐานข้อมูล
16.
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
17.
การวิเคราะห์และโปรแกรมเชิงวัตถุ
18.
ปฏิสัมพันธ์มนุษย์กับคอมพิวเตอร์
19.
หัวข้อชั้นสูงทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
20.
ปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
21.
Computer
Programming for International Engineers
22.
Open
Courseware
23.
Calculus
1 17/02/2013 - 17/06/2013
24.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อสนเทศ
25.
Construction
Methods
26.
Construction
Project Management
27.
DigitalDigital
Technology
28.
Digital_ThDigital
Technology (Thai Versions)
29.
ElectronicsElectronics
Module
30.
ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor)
ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning
นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา
เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้
คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา
และสถานที่
เข้าถึงได้ง่าย
ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning
ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้
web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ)
ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้
การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก
และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning
จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้
การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล
จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้
โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน
รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้
ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning
นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
เว็บที่ :
http://www.thaicyberu.go.th